แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม | |
---|---|
เจ้าหน้าที่ประกาศความตกลง | |
สร้าง | 14 กรกฎาคม 2558 |
ให้สัตยาบัน | ไม่จำเป็นต้องให้สัตยาบัน |
ใช้บังคับ | |
ที่ตั้ง | กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย |
ผู้ลงนาม | จีน ฝรั่งเศส เยอรมนี สหภาพยุโรป อิหร่าน รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐ (ถอนตัว)[3] |
วัตถุประสงค์ | การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ |
แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (อังกฤษ: Joint Comprehensive Plan of Action, ย่อ: JCPOA; เปอร์เซีย: برنامه جامع اقدام مشترک, ย่อ: برجام BARJAM) เป็นความตกลงระหว่างประเทศต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านซึ่งบรรลุในกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ระหว่างประเทศอิหร่าน พี5+1 (สมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติห้าประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐ บวกเยอรมนี) และสหภาพยุโรป
การเจรจาอย่างเป็นทางการสู่แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเริ่มด้วยการลงมติรับแผนปฏิบัติการร่วม ซึ่งเป็นความตกลงชั่วคราวที่ลงนามระหว่างอิหร่านและประเทศพี5+1 ในเดือนพฤศจิกายน 2556 อีกยี่สิบเดือนถัดมา ประเทศอิหร่านและประเทศพี5+1 เจรจากัน และในเดือนเมษายน 2558 มีการตกลงกรอบข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านสำหรับความตกลงสุดท้ายและในเดือนกรกฎาคม 2558 ประเทศอิหร่านและพี5+1 ตกลงกับแผนนี้[4]
ภายใต้ความตกลงนี้ ประเทศอิหร่านตกลงกำจัดคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะปานกลาง ตัดคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ 98% และลดเครื่องหมุนเหวี่ยงแก๊สลงประมาณสองในสามเป็นเวลา 13 ปี อีก 15 ปีถัดจากนี้ อิหร่านจะเสริมสมรรถนะยูเรเนียมได้ไม่เกิน 3.67% ประเทศอิหร่านยังตกลงไม่สร้างเครื่องปฏิกรณ์น้ำหนักใหม่เป็นระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมเสริมสมรรถนะยูเรเนียมใด ๆ จะถูกจำกัดอยู่ที่สิ่งอำนวยความสะดวกเดี่ยวที่ใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงรุ่นแรกเป็นเวลา 10 ปี สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นจะถูกแปลงเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ขยาย เพื่อเฝ้าสังเกตและพิสูจน์ยืนยันการปฏิบัติตามของอิหร่านกับความตกลงนี้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จะสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกนิวเคลียร์ทั้งหมดของอิหร่านสม่ำเสมอ ความตกลงนี้กำหนดว่าเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามข้อผูกมัดของตนอย่างพิสูจน์ยืนยันได้ ประเทศอิหร่านจะได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐ สหภาพยุโรปและวิธีการบังคับที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
วันที่ 13 ตุลาคม 2560 ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าสหรัฐจะไม่รับรองความตกลงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎหมายในประเทศสหรัฐ แต่ยังไม่เลิกข้อตกลง[5]
ผู้ตรวจสอบของ IAEA ใช้เวลา 3,000 วันปฏิทินต่อปีในประเทศอิหร่าน ติดตั้งซีลป้องกันการปลอมแปลง และเก็บรวบรวมภายถ่ายกล้องตรวจตรา วัดข้อมูลและเอกสารเพื่อการวิเคราะห์เพิ่มเติม[6] ผู้อำนวยการ IAEA ยูกิยะ อะมาโนะแถลงในเดือนมีนาคม 2561 ว่าองค์การพิสูจน์ยืนยันว่าประเทศอิหร่านนำข้อผูกมัดที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ของตนไปปฏิบัติ วันที่ 30 เมษายน 2561 สหรัฐและอิสราเอลว่าอิหร่านไม่เปิดเผยโครงการอาวุธนิวเคลียร์ลับในอดีตต่อ IAEA ที่กำหนดตามข้อตกลงในปี 2558[7][8]
วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ทรัมป์ประกาศว่าถอนตัวสหรัฐจากแผนฯ[9][10] ให้หลังการถอนตัวดังกล่าว สหภาพยุโรปตราบทกฎหมายยับยั้งในวันที่ 7 สิงหาคม 2561 เพื่อทำให้วิธีการบังคับของสหรัฐต่อประเทศที่ค้ากับอิหร่านเป็นโมฆะ[11] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 วิธีการบังคับของสหรัฐกลับมามีผลโดยตั้งใจบังคับให้อิหร่านเปลี่ยนนโยบายของประเทศอย่างมาก รวมทั้งการสนับสนุนกลุ่มนักรบในภูมิภาคและการพัฒนาขีปนาวุธร่อน[12]
ในเดือนพฤษภาคม 2562 IAEA รับรองว่าประเทศอิหร่านปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักของข้อตกลง แม้มีการยกคำถามเกี่ยวกับจำนวนเครื่องหมุนเหวี่ยงขั้นสูงที่ประเทศอิหร่านได้รับอนุญาตให้มีได้ เพราะมีบทนิยามไว้หลวม ๆ ในข้อตกลงเท่านั้น[13]
วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ประเทศอิหร่านประกาศว่าประเทศละเมิดขีดจำกัดที่ตั้งไว้ต่อคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ[14] ไม่นานหลังประกาศ IAEA ยืนยันว่าคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะรวมของอิหรานเกิดขีดจำกัดของข้อตกลง ไม่นานต่อมา อิหร่านประกาศเพิ่มการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเกินขีดจำกัดที่ตกลงกันไว้[15] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ ทวีตว่ามาตรการที่อิหร่านใช้เพื่อถอยการผูกมัดของตนต่อข้อตกลงนิวเคลียร์สามารถย้อนกลับได้หากผู้ลงนามในยุโรปบรรลุข้อผูกมัดของพวกตนบ้าง[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "EU officially announces October 18 adoption day of JCPOA". Islamic Republic News Agency. 18 October 2015.
- ↑ "UN chief welcomes implementation day under JCPOA". Islamic Republic News Agency. 17 January 2016.
- ↑ Holpuch, Amanda (8 May 2018). "Donald Trump says US will no longer abide by Iran deal – as it happened" – โดยทาง www.theguardian.com.
- ↑ Daniel,, Joyner,. Iran's nuclear program and international law : from confrontation to accord (First ed.). New York, NY. ISBN 9780190635718. OCLC 945169931.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) - ↑ Bucher, Chris (13 October 2017). "LIVE STREAM: President Trump Announces Iran Nuclear Deal Strategy". Heavy.com. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
- ↑ Amano, Yukia (5 March 2018). "IAEA director general: Introductory remarks at press conference", International Atomic Energy Agency
- ↑ "Trump Hints He Plans to Quit the Iran Nuclear Deal". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-04-30. สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
- ↑ Tibon, Amir; Landau, Noa (2018-04-30). "Trump: Netanyahu's Speech on Iran Deal Proves That I Was 100% Right on Iran Deal". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
- ↑ Mark Landler (8 May 2018). "Trump Announces U.S. Will Withdraw From Iran Nuclear Deal". MSN.
- ↑ "Trump Withdraws U.S. From 'One-Sided' Iran Nuclear Deal". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 May 2018.
- ↑ "Updated Blocking Statute in support of Iran nuclear deal enters into force". Europa.eu. European Commission Press Release Database. 6 August 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
- ↑ "US targets arms program with strongest sanctions since scrapping Iran deal". ABC News. 3 November 2018.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อReutersMay19
- ↑ "Iran says it has breached stockpile limit under nuclear deal". AP News. 1 July 2019.
- ↑ "Iran's stock of enriched uranium exceeds nuclear deal's limit, IAEA says". Reuters. 1 July 2019.
- ↑ "Iran To Enrich Uranium Beyond Permitted Amount Within 'Hours'". teleSUR. 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ข้อความเต็มของความตกลงนี้: